อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

Solar Today Expo  » Industrial »  อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
0 Comments
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2550-2554 หากเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกต่อ GDP จะพบว่ามูลค่าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีสัดส่วนเฉลี่ยต่อ GDP อยู่ประมาณร้อยละ 3.45 ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยสูง

          อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับประกอบด้วยอุตสาหกรรมหลัก 2 ประเภท คือ อุตสาหกรรมเจียระไนอัญมณี และอุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับ ซึ่งโดยพื้นฐานของอุตสาหกรรมแล้ว มีความจำเป็นที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก รวมถึงต้องอาศัยทักษะ ฝีมือ และความชำนาญสูง การผลิตในภาคอุตสาหกรรมนี้สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

  1. อุตสาหกรรมเจียระไนอัญมนี
  2. อุตสาหกรรมเจียระไนพลอย เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากนัก เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ไม่มีความซับซ้อน และราคาถูก ดังนั้นอุตสาหกรรมเจียระไนพลอยจึงมีผู้ผลิตขนาดเล็กจํานวนมาก นอกจากนี้ ยังเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยฝีมือในการเจียระไนที่ประณีต และมีเทคโนโลยีการหุงหรือเผาพลอยเพื่อทําให้พลอยมีสีสวยและราคาสูงขึ้น
  3. อุตสาหกรรมเจียระไนเพชร เกิดจากการย้ายฐานการผลิตจากประเทศที่มีชื่อเสียงในการเจียระไนเพชร เช่น เบลเยียม อิสราเอล และอังกฤษ โดยรวมแล้วอุตสาหกรรมนี้ต้องอาศัยเงินลงทุนสูง ดังนั้นผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงเป็นบริษัทต่างชาติ หรือร่วมทุนกับต่างชาติ และจะได้รับหรือเคยได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI
  4. อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
  5. อุตสาหกรรมเครื่องประดับแท้ การผลิตเครื่องประดับแท้หลายขั้นตอนต้องอาศัยแรงงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะแรงงานฝีมือ หรืออาจกล่าวได้ว่าการผลิตเครื่องประดับแท้เป็นการผลิตที่ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ มากกว่าการใช้เครื่องจักร ปัจจุบันมีผู้ผลิตเครื่องประดับแท้จํานวนมาก ทั้งผลิตเพื่อขายในประเทศและเพื่อการส่งออก แต่การผลิตเพื่อการส่งออกต้องใช้เทคโนโลยีการผลิตมากกว่า เนื่องจากต้องแข่งขันด้านคุณภาพ รูปแบบ และราคากับประเทศคู่แข่งอีกจํานวนมาก
  6. อุตสาหกรรมเครื่องประดับอัญมณีเทียม หรือเครื่องประดับแฟชั่น เริ่มเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เนื่องจากรสนิยมของผู้บริโภคและสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมได้เปลี่ยนแปลงจากการใช้เครื่องประดับแท้ที่มีราคาแพง มาเป็นเครื่องประดับเทียมที่เลียนแบบของแท้ ส่งผลให้อุตสาหกรรมนี้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว

วัตถุดิบสําคัญที่ใช้ในการผลิต คือ อัญมณีหรือรัตนชาติ และแร่โลหะที่นํามาใช้ในการทําตัวเรือนเครื่องประดับ ซึ่งแร่โลหะมีค่าที่นิยม ได้แก่ ทองคํา เงิน และทองขาว โดยมีการใช้แรงงานจํานวนมากเนื่องจากเป็นงานที่ต้องใช้  ฝีมือ ทักษะความชํานาญ และความประณีตของคนเป็นสําคัญ ซึ่งปัจจัยที่ค่อนข้างสำคัญคือ เงินทุน เพื่อเพื่อการลงทุนในด้านโรงงาน เครื่องจักรอุปกรณ์ และเงินทุนหมุนเวียนเพื่อใช้ในการดําเนินงาน

เครื่องจักรและอุปกรณ์ ประกอบด้วยเครื่องจักรสําหรับเจียระไนพลอย เครื่องจักรสําหรับเจียระไนเพชร และเครื่องจักรสําหรับทําเครื่องประดับ ทั้งนี้ เครื่องจักรสําหรับเจียระไนพลอยไม่มีความซับซ้อนมากนัก สามารถผลิตและจัดหาได้ในประเทศ เพราะการเจียระไนพลอยส่วนใหญ่จะใช้ฝีมือและความชํานาญของแรงงานเป็นสําคัญ ส่วนการเจียระไนเพชรและการทําเครื่องประดับต้องมีความแม่นยําและความประณีต จึงจําเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีการผลิตจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี อิตาลี และอังกฤษ

เทคโนโลยี  การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับของไทยใช้กรรมวิธีการผลิต และเทคโนโลยีทัดเทียมกับชาติอื่นๆ นอกจากนี้ การเผาพลอย หรือการหุงพลอย ยังเป็นที่ยอมรับว่าสามารถปรับปรุงคุณภาพของพลอยดิบให้มีความงดงาม และมีคุณภาพสูงขึ้น